การเตรียมสอบ TOEIC IELTS TOEFL CU-Tep – วิธีจดจำคำศัพท์ ภาษาอังกฤษ

เทคนิคในการจดจำคำศัพท์ เพื่อใช้ในการสอบ TOEIC แนะนำโดย TCiAP Home Room

จาก TCiAP TOEIC Homeroom วันนี้ นำเสนอ

วิธีจำคำศัพท์ได้นาน โดยไม่ต้องท่อง!!

เมื่อพูดถึงการสอบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษ อย่างเช่น TOEIC แล้ว อีกสิ่งที่จะต้องนึกถึงต่อมาเลยก็คือ คำศัพท์
นศ. เรียนภาษาอังกฤษกันมาตั้งแต่เด็กๆ ตั้งแต่อนุบาล ผ่านคำศัพท์มามากมาย
แต่ปัญหาก็คือ ทำไม ถึงยังจำคำศัพท์พวกนั้นไม่ได้สักที??

นศ. อาจจะเคยเจอสถานการณ์แบบนี้…….

– คำศัพท์คำนี้เคยเจอบ่อยๆ ในข้อสอบ TOEIC คุ้นมากๆ แต่จำไม่ได้??
– คำศัพท์ที่เขียนคล้ายกัน จะจำสลับกัน เช่น except-accept-expect ศัพท์คำไหนแปลว่า ยอมรับ คาดหวัง หรือยกเว้น โดยศัพท์ที่เขียนคล้ายกัน มักจะถูกนำมาใช้เป็นคำตอบลวง ในแทบจะทุก Part ของข้อสอบ TOEIC ??
– ก่อนเข้าสอบ TOEIC ท่องศัพท์ผลัดกันกับเพื่อน ฉันบอกคำนี้แล้วเธอแปลนะ หรือท่องเองโดยเอามือปิดคำแปลไว้แล้วท่อง พอเข้าไปสอบ TOEIC เสร็จ ออกมาปุ๊บลืมคำศัพท์ที่ท่องหมด ??
– ขี้เกียจท่องศัพท์ เพราะมันเยอะมาก ข้อสอบ TOEIC ก็อัพเดทแทบทุกสัปดาห์ ศัพท์ใหม่อุบัติขึ้นแทบทุกวัน ท่องไปยังไง ก็ลืม ??

ซึ่งสาเหตุที่เราจำศัพท์ไม่ได้ก็เพราะ วิธีการท่องนั้น จัดว่าเป็น “ความจำระยะสั้น”

ความจำระยะสั้น (Short-Term Memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราว ไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวน ความทรงจำก็จะลบเลือนไป

นศ. เคยคิดบ้างไหมว่า เราท่องศัพท์มาตั้งแต่เด็ก แต่เราสามารถจำได้แค่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น

“นักวิจัยและนักจิตวิทยาได้ทำการวิจัยและพบว่า การท่องศัพท์แบบทวนซ้ำไปมา (Repeat) เป็นการป้อนข้อมูลเข้าหน่วยความจำใน “ระยะสั้น” เท่านั้น”

เราต้องเปลี่ยนความจำระยะสั้น ให้เป็นความจำระยะยาว จึงจะจำได้ระยะยาว

ความจำระยะยาว (Long-Term Memory) หมายถึง ความจำที่ถูกทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้น เป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิต

สรุปแล้วก็คือ วิธีการจำคำศัพท์ให้จำขึ้นใจ จำได้ระยะยาวโดยไม่ต้องท่อง ก็คือ

1. จดคำศัพท์ไว้ในสมุด ให้เป็นระเบียบ และจดหน้าที่ของคำ (Part of Speech) กำกับไว้ด้านท้ายของคำศัพท์ด้วย
เช่น
compare (v.) = เปรียบเทียบ
explain (v.) = อธิบาย

2. คำศัพท์ที่เขียนคล้ายกันให้เขียนไว้ใกล้ๆ กัน หรือคำศัพท์ตระกูลเดียวกันให้จดไว้ด้วยกัน
เช่น
คำศัพท์ที่เขียนคล้ายกัน
except (prep.) = ยกเว้น
accept (v.) = ยอมรับ
expect (v.) = คาดหวัง

คำศัพท์ตระกูลเดียวกัน
critic (n.) = นักวิจารณ์
critical (adj.) = เชิงวิจารณ์
criticize (v.) = วิพากษ์วิจารณ์
criticism (n.) = คำวิจารณ์

3. วิธีการจำคำศัพท์ที่เขียนคล้ายกัน ให้เลือกจำคำใดคำหนึ่งไปเลย
เช่น
expect (v.) = คาดหวัง
except (prep.) = ยกเว้น
ถ้าจะเลือกจำคำว่า expect (v.) = คาดหวัง ก็จำคำนี้เพียงคำเดียว และถ้าเจออีกคำที่เขียนคล้ายกัน คือ except ก็ต้องแปลว่ายกเว้น แน่นอน เพื่อแยกการจำคำศัพท์สลับกัน

4. นำสมุดคำศัพท์ที่จดตามข้อข้างต้นนั้น มาอ่านบ่อยๆ (ไม่ต้องท่อง ไม่ต้องใช้มือปิด) เพื่อที่จะได้ผ่านสายตาบ่อยๆ และที่สำคัญก็คือ ต้องดูและอ่านสมุดคำศัพท์นี้อย่างมีสมาธิและทำเช่นนี้บ่อยๆ

ข้อนี้สำคัญมากที่สุด เพราะจะทำให้นศ. สามารถจำคำศัพท์ที่จดไว้ได้ในระยะยาว และจำได้ขึ้นใจ หรืออ่านสมุดศัพท์นั้นให้ได้ทุกวันเลยยิ่งดี วันละเพียง 15 นาที แต่ให้ตั้งใจและมีสมาธิ โดยให้ นศ. ลองเริ่มทำสัก 1 สัปดาห์ นศ. ก็จะสามารถจำคำศัพท์เหล่านั้นได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องท่อง

ก้าวเข้าสู่ปีที่ 17 กับหลักสูตรติวสอบ TOEIC หลักสูตรใหม่ ปี 2516 ที่เพิ่มความยาก และ Update เนื้อหาข้อสอบก่อนใคร ในระดับ TOEIC Intermediate เข้มข้นสุดๆ เพื่อเตรียมพร้อมสู่สนามสอบ TOEIC ไปกับเรา Cooperate in Academic Programs

TOEIC, TCiAP, TOEIC 2015, ติว TOEIC, ติวสอบ TOEIC, ติวสอบโทอิค
Line ID: @toeic (อย่าลืมเติม @ ด้วยนะ)